อารยธรรมอินคา
อาณาจักรอินคา มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงศตวรรษ 15-16 ภายใต้การปกครองของ ลอร์ดอินคา (Lord Inca) กษัตริย์เทพเจ้า โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ คูซโก (Cuzco) เมืองที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดิส (Andes Mountain)
ชาวอินคารู้จักทำถนนซึ่งวางระบบในการเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆ ภายในราชอาณาจักรได้เป็นอย่างดีเยี่ยม มีถนนและสะพานเป็นระยะทาง 15,000 ไมล์หรือ 25,000 กิโลเมตร ทำให้ชนชาตินี้สามารถควบคุมผู้คนที่อยู่ในดินแดนห่างไกลได้กล่าล้านคน โดยผู้คนเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าในแถบเดียวกับที่พวกเขาไปพิชิตมาได้ ชาวอินคานั้นจะใช้การเดินเท้าในการเดินทาง จะมีที่พักตามรายทางซึ่งห่างเป็นระยะทางเดินเท้าประมาณ 1 วัน อย่างไรก็ตามเมื่อชาวสเปนได้เข้ามาในดินแดนแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1532 ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับที่อาณาจักรแห่งนี้รุ่งเรืองถึงขีดสุดนั้น พวกสเปนก็ได้เข้ามาทำลายอารยธรรมที่ชาวอินคา สั่งสมมาด้วยความโลภ ต้องการจะครอบครองทองคำหรือเงินตรา (Inca gold and silver) ต่างๆของชาวอินคานั่นเอง
ประวัติศาสตร์อาณาจักรอินคา
อาณาจักรอินคา ชนเผ่าอินคาอยู่ทวีปอเมริกาใต้ ในเขตเนื้อที่ส่วนใหญ่ของประเทศเปรูปัจจุบัน มีนครคูซโคเป็นศูนย์กลางเป็นแหล่งอารยธรรมที่เจริญที่สุดนับเป็นเรื่องแปลกมากที่อาณาจักรอินคา ตั้งอยู่ในเขตที่มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งในโลกเรามีดินแดนที่เหมาะสมเช่นนี้เพียงสองสามแห่งเท่านั้น ในปลายศตวรรษที่ 5 อาณาจักรอินคา ได้ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1,950,000 ตารางกิโลเมตร อารยธรรมสูงส่งของชาวอินคาที่เป็นแบบอย่างแก่ชนเผ่าแถบอเมริกาใต้มานานนับ พันๆปีที่โดดเด่นมากคือรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมที่ทำให้ประชากรนับตั้งแต่ระดับสูงสสุดขั้นจักรพรรดิลงมาจนถึงชาวไร่ชาวนา ได้ทำงานตามบทบาทตำแหน่งหน้าที หรือสถานภาพอย่างมีประสิทธิภาพและมีอิสระเสรี และความเจริญรุ่งเรืองของชาวอินคายังรวมไปถึง ทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม วิศวกรรมโยธา และระบบชลประทาน
มรดกล้ำค่าของชาวอินคา
แดนมหัศจรรย์มาชู ปิคชู
แดนมหัศจรรย์มาชู ปิคชู ในเดือนกรกฎาคม ปี 1911 นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้พบ ดินแดนมหัศจรรย์มาชู ปิคชูโดยบังเอิญ นับเป็นดินแดนที่ประหลาด มาก เนื่องจากพบซากเมืองที่เต็มไปด้วยซากหักพังของสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือนของชนเผ่าอินคาในอดีตเรียงรายปรากฏอยู่บนยอดเขาสูง ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าชนเผ่าอินคาจะลำเลียงก้อนหินขนาดต่างๆขึ้นไป ก่อสร้างบ้านเมืองตรงนั้นได้ เป็นบ้านเมืองขนาดเล็กที่เต็มไปด้วย ถนน อนุเสาวรีย์ วิหาร และบ้านเรือนที่เรียงรายเป็นระเบียบสวยงาม บ่งบอกถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมอย่างสูง มาชู ปิคชู สร้างอยู่บนยอดเขาโดดเด่นตัดขาดจากโลกภายนอก ห่างไกลนครหลวงคูซโค และสูงกว่าที่ราบลุ่มมาก ตามตำนานเล่าว่า ชาวอินคาสร้างนครนี้เพื่อเป็นที่อาศัยของหญิงพรหมจารี ที่ปฏิบัติ ศาสนกิจถวายสุริยเทพ เรื่องดังกล่าวนี้นักโบราณคดีในยุคปัจจุบัน สันนิษฐานว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นของมาชู ปิคชูก็คือ ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสิ่งก้อสร้างที่เป็น อนุสาวรีย์ขนาดมหึมาที่ก่อสร้างด้วยแท่งหินขนาดใหญ่ วางเชื่อม ต่อกันอย่างสมดุล นับว่าเป็นเรื่องแปลกมากว่าพวกเขาเรียนรู้ เทคโนโลยีการขนย้ายแท่งหินขนาดยักษ์มาเรียงรายต่อกันสูงเป็นชั้นๆ ได้เรียบสนิท โดยไม่ใช้ล้อเลื่อนหรือลูกรอกแต่อย่างใด นับเป็นปริศนา ที่ไม่มีใครทราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
การสร้างถนนของชาวอินคา
ผู้นำชนเผ่าอินคาแต่ละยุคเน้นการสร้างถนนที่ดีเชื่อมกับเมืองทุกเมือง ภายในอาณาจักรโดยมีสายหลักสองสายจากเหนือลงไปใต้ และมีถนนสายรองลงมาตัดผ่านไปมา จากตะวันออกไปตะวันตกนับร้อยสาย เชื่อมติดต่อกันระหว่างเมืองและหมู่บ้านต่างๆ การเดินทางในสมัยนั้นชาวอินคาเดินทางโดยทางเท้า ผู้เดินทางมักจะเตรียมเสบียงอาหารตั้งค่ายพักแรม ระหว่างทาง โดยอาศัยตัวลามะลำเลียงไป สำหรับถนนสายหลักมักจะสร้างเรือนพักผ่อนเป็นระยะๆ นักค้นคว้าบางกลุ่มสรุปว่า ถนนหนทางในอาณาจักรอินคาที่เป็นสายหลักมี 2 สาย สายแรกเรียกว่า ถนนกษัตริย์หรือจักรพรรดิ ซึ่งมีชื่อว่า คาปัคนาน สร้างผ่านเทือกเขาแอนดีส จากพรมแดนอาณาจักรที่แม่น้ำอังคัสมาโยผ่าน เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา ลงไปถึงชิลี และไปสิ้นสุดที่เมืองริโอมวล ถนนนี้ยาว 3, 250 ไมล์ และผู้นำชนเผ่าอินคาได้สร้างปราสาทหินไว้เป็นสัญลักษณ์
พระอาทิตย์ คือ เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของชาวอินคา
ชาวอินคาทั้งมวลต่างยกย่องพระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นที่ประจักษ์ทั่วไปว่าชาวอินคามักจะบูชาพระอาทิตย์ ขณะเดินทางบนที่สูงช่วงเวลากลางคืน ชาวอินคาเชื่อว่าลมปิศาจซึ่งเป็นลมที่หนาวเหน็บถึงกระดูกพัดลงมาตามแนวเทือกเขาแอนดิส ในช่วงเวลากลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกและมักจะพัดผ่านใต้พื้นโลกตลอดเวลา ทุกๆเมืองของชาวอินคา จะมีก้อนหินสลักขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "อินติฮัวตานา" ซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกวันที่พระอาทิตย์โคจรข้ามศีรษะในช่วงเวลาเที่ยง ซึ่งเวลาดังกล่าวชาวอินคาและนักบวชจะไปร่วมชุมนุมทำพิธีบูชาพระอาทิตย์ โดยสวดมนต์ขอบคุณพระอาทิตย์ที่ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น และขอบคุณซา-ปา อินคา โอรสของพระอาทิตย์ชาวอินคาส่วนใหญ่เชื่อว่ากษัตริย์หรือจักรพรรดิของพวกเขาเป็นโอรสของสุริยเทพ อาณาจักรอินคายืนยันว่าทุกเผ่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอินคาต้องสร้างวิหารบูชาสุริยเทพ โดยเฉพาะแต่วิหารบูชาพระอาทิตย์ที่เป็นหลักเป็นศูนย์กลางถือว่าอยู่ในนครคูซโค นครหลวงของอาณาจักรเท่านั้น
อาณาจักรและชนชั้นเผ่าอินคา
ชาวอินคาครอบครองดินแดนบนภูเขาเล็กๆ แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศเปรูในปัจจุบัน พื้นที่บนภูเขาส่วนใหญ่ประกอบด้วยแนวเทือกเขา รวมทั้งบริเวณที่เป็นที่ราบสูง ที่ราบลุ่มและหุบเหวลึกตรงกลาง ลมตะวันออกที่พัดผ่านเหนือเขตป่าอะเมซอนอันกว้างใหญ่ที่นำฝนไปตกชุกจะค่อยๆจางหายไปทาง ทิศตะวันตก
ชีวิตของชาวเปรูวนเวียนผูกพันกับด้านชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะการประมง ส่วนบนที่ราบสูงก็จะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ และในแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอนที่เป็นป่าทึบ และฝนตกหนักมักได้ผลผลิตเป็นผลไม้ หนังสัตว์ และขนนก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคา คือเมืองคูซโค ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเหนือระดับน้ำทะเล 3,500 เมตร เมืองมาชูปิคชู จัดว่าเป็นเมืองบนที่ราบสูงที่น่าประทับใจที่สุด เนื่องจากมีบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา หรือความลาดชันสูงขึ้นไปเป็นขั้นๆสวยงามมาก
ชนเผ่าดั้งเดิม
นักโบราณคดีบางคนกล่าวว่า ชนเผ่าอินคาสืบเชื้อสายจากชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูงทางภาคใต้นั้นเอง บางทีอาจมาจากชนเผ่าที่อาศัยอยู่ใกล้ๆนครคูซโคเดิม นักมานุษยวิทยาบางคนได้ระบุว่า อาจสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าเควชวน ในช่วงแรกชนเผ่าอินคาปกครองเพียงนครคูซโคเท่านั้น แต่ต่อมาเนื่องจากชนเผ่าต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงพยายามที่จะรุกรานและครอบครองอำนาจ ทำให้ชนเผ่าอินคา ต้องต่อต้านและได้ขยายอิทธิพลครอบคลุมอาณาจักรชนเผ่าต่างๆที่อยู่รอบๆออกไปเรื่อยๆจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 15 ชนเผ่าอินคาได้ปกครองอาณาจักรยิ่งใหญ่ที่ ขยายพรมแดนกว้างไกลไปจนถึงดินแดนแถบชายฝั่งทะเล และจากเขตเอกวาดอร์ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำมอลในประเทศชิลี ชาวอินคาได้เรียกชื่ออาณาจักรอันยิ่งใหญ่นี้ว่า "อาณาจักรเตฮวนตินซูยู" หมายถึง มหาอาณาจักรแห่งโลก
กษัตริย์หรือจักรพรรดิอินคา
ราชวงศ์กษัตริย์หรือจักรพรรดิอินคา ถือว่าทุกพระองค์เป็นโอรสของสุริยเทพที่ไพร่ฟ้าประชาชนต้องถวายความจงรักภักดี อย่างแท้จริง ถือว่าพระองค์ทรงมีความศักดิ์สิทธิ์ การปกครองของอาณาจักรอินคาจึงเป็นระบบการปกครองที่ยึดถือเทพเจ้าเป็นหลัก อาณาจักรอินคามีประเพณีต้องห้ามสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีคำสั่งและกฎหมายระบุไว้ว่า ห้ามบุรุษทั่วไปแต่งงานกับชนชั้นในครอบครัวหรือตระกูล เดียวกัน หากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษโดยการควักนัยน์ตาออกมากลายเป็นคนตาบอด นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า อาณาจักรอินคามีประเพณีสำหรับชนชั้น ระดับสูงสุด คือองค์จักรพรรดิโดยเฉพาะ เนื่องจากมีผลต่อการสืบต่อราชบัลลังก์ในสายของจักรพรรดิที่สืบเชื้อสายมาจากสุริยเทพ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดเท่านั้น
การปกครองบ้านเมือง
จักรพรรดิทรงเลือกคณะองคมนตรีเพื่อถวายคำปรึกษา แต่พระราชดำรัสของพระองค์ถือว่าเป็นกฎหมาย ทรงต้องพิจารณาแผนการรบ และการทำสงคราม ก่อนลงพระปรมาภิไธย ไม่มีสิ่งก่อสร้างหรือเมืองใดสร้างขึ้นเองโดยพระองค์มิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต
สังคมชนเผ่าอินคา
ระบบการแบ่งชนชั้นทางสังคมของชนเผ่าอินคา นับว่าเป็นระบบที่จัดลำดับไว้ดีมาก ชาวอินคาทุกคนนับตั้งแต่จักรพรรดิ ลงมาจนถึงบุคคลชั้นต่ำ ชาวไร่ชาวนา จะรู้จักตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ทั้งในการปรับตัวและการทำงานตามภาระหน้าที่ ระดับชนชั้นมีดังนี้ 1. บุคคลระดับสูงสุด คือ จักรพรรดิ และอัครมเหสี
2. กลุ่มนักบวชชั้นสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสูงสุด
3. กลุ่มผู้บริหารระดับสูงทั้งสี่ เรียกว่า เอ-ปัซ
4. กลุ่มผู้บริหารชั้นพิเศษ เช่น กลุ่มคณะลูกขุน กลุ่มสถาปนิก
5. กลุ่มช่างฝีมือหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น ช่างโลหะ ช่างไม้ นักดนตรี กลุ่มศิลปิน
6. กลุ่มประชาชนทั่วไป
ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย
ชาวอินคาเชื่อว่าพลังชีวิตของมนุษย์ไม่ได้หายสาบสูญไปหลังจากตายแล้ว มันยังอยู่ใกล้ร่างคนตาย ได้รับประทานอาหาร และได้ดื่มสิ่งต่างๆราวกับคนมีชีวิต ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงพยายามรักษาศพของบรรพบุรุษไว้ให้คงความอมตะเช่นเดียวกับ ชนเผ่าไอยคุปต์โบราณ นอกจากนั้นชาวอินคายังเชื่อว่ากษัตริย์หรือจักรพรรดิของพวกเขา ที่เสด็จสวรรคตแล้วคือเทพเจ้า ด้วยเหตุนี้ จึงมีพิธีกรรมทำมัมมีพระศพไว้เพื่อเป็นที่เคารพบูชาตลอดไป หรือเท่ากับรักษาวิญญาณของกษัตริย์ให้คงอยู่ มันมีของกษัตริย์ชาวอินคามันจะอยู่ในท่าประทับนั่งบนบัลลังก์ และมีผู้คอยดูแลรักษาถวายเครื่องเซ่น และเปลี่ยนเครื่องทรงอยู่เสมอง ในช่วงวันเฉลิมฉลองพิธีกรรมทางศาสนา มักจะแห่มัมมีกษัตริย์ไปตามถนนสายสำคัญในกลางนครคูซโคเมืองหลวงของอาณาจักร อินคาเสมอ ชาวอินคาถือว่าพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตายมีความสำคัญมากมายหลายประการ พวกเขาเชื่อว่าผลบุญกุศลของบรรพบุรุษ เป็นความปรารถนาหรือพรอันศักดิ์สิทธิ์แก่การเก็บเกี่ยวพืชผล และศพนั้นถือเป็นสื่อกลางนำข่าวสารมาสู่คนที่มีชีวิต ด้วยเหตุดังกล่าวชาวอินคาจึงมีพิธีกรรมทำมัมมีบุคคลที่สำคัญ นับตั้งแต่ระดับกษัตริย์หรือจักรพรรดิลงมา ลักษณะการทำมัมมีคล้าย กับการทำมัมมีของชาวไกอัยคุปต์บางส่วน เช่น นำอวัยวะจำพวกตับไตไส้พุงออกมา แล้วเก็บไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ภายในและภายนอก ร่างศพทาด้วยน้ำมันชนิดหนึ่ง จากนั้นก็ทำให้แห้งด้วยวิธีเดียวกันกับการถนอมอาหารจำพวกเนื้อหรือมันฝรั่ง ด้วยวิธีการอาศัย พลังงานแสงอาทิตย์ ที่แปลกและแตกต่างจากมัมมีไอยคุปต์ก็คือมัมมีของชาวอินคามักจะงอตัวหรือคุดคู้ในท่าเด็กทารก ในครรภ์มารดา
การทำมัมมี่ วิญญาณ และพลังประหลาด
ชาวอินคามีความเชื่อมั่นและเคารพในมัมมีศพบรรพบุรุษ มีการตกแต่งมัมมีนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าชนิดคุณภาพดี และสวยงามคลุมด้วยเครื่องประดับจำพวกเพชร พลอย ทองคำ และสิ่งมีค่าเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึง เป็นสิ่งล่อใจทำให้พวกทหารสเปนหลายกลุ่มในสมัยนั้น รวมทั้งนักแสวงโชคจากที่ต่างๆเข้าไปขโมยทรัพย์สมบัติ ในหลุมฝังศพเป็นจำนวนมาก ชาวดินคามีพิธีกรรมทำมัมมีบุคคลที่สำคัญ นับตั้งแต่ระดับกษัตริย์หรือจักรพรรดิลงมา ลักษณะการทำมัมมีคล้ายกับการทำมัมมีของชาวไอยคุปต์บางส่วนต่างกันที่มัมมีชาวอินคามักจะงอตัวหรือคุดคู้ในท่า เด็กทารกในครรภ์มารดา ชาวอินคาไม่นิยมฝังมัมมีแต่จะวางไว้ตามธรรมขาติในโพรง หลุมหรือถ้ำ
พิธีกรรมลอยศพกลางแม่น้ำ
นอกจากนั้นชาวอินคายังมีประเพณีลอยศพคนตายกลางแม่น้ำ กล่าวคือหากบ้านใดมีคนตาย บรรดาญาติมิตรก็จะนำศพ เครื่องใช้ประจำตัวรวมทั้งบรรดาเครื่องเซ่นที่มีเมล็ดพืช อาหารแห้ง อาวุธ เครื่องประดับ นำไปลอยกลางแม่น้ำเพื่อให้วิญญาณคนตายมีความบริสุทธ์ เพื่อลบรอยมลทินของคนตายออกไปบ้าง
ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณและพลังที่แอบแฝง
ชาวอินคามีความเชื่อว่า บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างหรือวัตถุต่างๆมีพลังลึกลับแฝงอยู่ โดยเฉพาะสถานที่ ต่างๆก็นับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ และสิ่งเหล่านี้มีชื่อสรุปว่า "ฮัวคา" นอกจากนั้นชาวอินคายังเชื่อว่า ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณอาศัยอยู่ พวกพืชและสัตว์ต่างๆก็มีวิญญาณแฝงอยู่ด้วย ชาวอินคาทั่วไปมีความเชื่อว่าการรักษาศพคนตายไว้ให้ดีราวกับมีชีวิตอยู่ เพื่อว่าวิญญาณจะกลับมาสู่ร่างเดิมอีก ชาวอินคาวางมัมมี ของคนตายไว้ในบ้านผู้ที่มีฐานะดีจะสร้างรูปปั้นทองคำเล็กๆแทนคนตายไว้หน้ามัมมีศพ แต่ละวันจะเซ่นด้วยอาหารต่างๆราวกับว่า คนตายยังมีชีวิตอยู่
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชนเผ่าอินคา
กฎหมายอาชญากรรมและบทลงโทษ
ชาวอินคาทั่วทั้งอาณาจักรทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เนื่องจากพวกเขาได้รับ บริการหรือสิ่งที่ต้องการและจำเป็นต่อชีวิตแทบทุกอย่างด้วยเหตุนี้ตามชุมชนต่างๆจึงไม่มีผู้ร้ายเท่าใดนัก ที่น่าประหลาด ก็คือ ทั่วทั้งอาณาจักรไม่มีคุกตะรางขังนักโทษ ความผิดที่นับว่าร้ายแรงที่สุดคือ การฆาตกรรม ซึ่งนับว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย และสบประมาทเทพเจ้า ผู้กระทำจะถูกลงโทษจนสิ้นชีวิตอย่างโหดเหี้ยม เช่นวิธีทีมักปฏิบัติก็คือถูกจับโยนตกลงไปจากหน้าผา สูงชัน ทำให้ศพกระทบหินเบื้องล่างแหลกละเอียด
ชายที่เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่นก็จะได้รับโทษโดยถูกแขวนร่างที่เปลือยเปล่าในที่สาธารณชน ให้ผู้คนหัวเราะเยาะและต้องทนทุกข์ ทรมานไปจนตาย ส่วนผู้บังอาจดูหมิ่นเทพเจ้าจะถูกจะถูกแขวนกลับหัวลงดิน และจะต้องถูกควักท้องเอาลำไส้ออกมา
อาชญากรที่โทษเบา จะถูกลงโทษเพียงตัดมือ ตัดเท้า หรือถูกควักนัยน์ตาออกมา นักโทษที่โชคร้ายบางกลุ่มจะถูก ขังโดยได้รับประทานอาหารตามปกติแต่พวกเขาจะถูกนำไปนั่งขอทานหน้าประตูเมืองที่อยู่ใกล้ที่สุดทุกวัน เพื่อให้ชาวเมืองต่างๆได้มองเห็นผลของการทำผิด และได้รับโทษทัณฑ์อย่างไร
กองทัพและอาวุธ
รูปปั้นนักรบชาวอินคา
กองทัพชนเผ่าอินคาส่วนใหญ่จัดว่าเป็นกองทัพทหารเกณฑ์ที่แท้จริง ในช่วงที่อาณาจักรอินคา แบ่งเป็นรัฐอิสระที่จักรพรรดิซึ่งเป็นหุ่นเชิดของทหารสเปนปกครอง ผสมผสานกับยุทธศาสตร์การรบของตนที่สืบทอด มาจากบรรพบุรุษ ทำให้พวกเขาได้พัฒนาความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในยุคหลังทหารอินคาสามารถรบชนะชนเผ่า ต่างๆตามพรมแดนรอบๆ ชนเผ่าอินคาได้กลายเป็นผู้นำในด้านบริหารกองทัพที่เข้มแข็งในยุคหลัง พวกเขาได้เริ่มว่างรูปแบบการเมืองของตน ให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังจากปี 1437 กองทัพชนเผ่าอินคาไม่เคยรบแพ้ใคร แต่บางครั้งนักรบหรือทหารอินคาได้ กระทำการรุนแรงเกินไป เช่นการสังหารหมู่พวกศัตรูในสมรภูมิหลายครั้ง จนกลายเป็นประเพณีที่ยึดถือกันเป็นเชลย ผูกไว้กับต้นเสาหน้าวิหารสุริยเทพนครคูซโค จากนั้นถูกตัดคอแล้วนำมาทำเป็นถ้วยดื่มเลือด หารกเป็นศัตรูที่ชาวอินคา เกลียดแค้นเป็นพิเศษ ศพจะถูกนำไปสตัฟฟ์ล้อเลียนดังมัมมีของชนเผ่าหนึ่ง ถูกถลกหนังตากแดดประจานต่อสาธารณชน ปัจจุบันยังเหลือมัมมีศพของชนเผ่าชันคาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง
ศาสตร์ลับคีปู
คำว่าคีปู หมายถึง เชือกหรือปมเงื่อน ซึ่งคนเดินหนังสือส่งต่อทอดระหว่างกัน คีปูมิใช่การ เขียน แต่เป็นวิธีที่ใช้ในกระบวนการบันทึกความจำเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆทีสื่อสารระหว่างกันในหมู่ชนเผ่าอินคา
เชือกที่ผูกปมเงื่อนยังใช้การนับซึ่งเอาเลข 10 เป็นพื้นฐานด้วย นอกจากนั้นเชือกปมคีปูทั้งหมดต้องมีสัญลักษณ์ แทนภาษาพูดและภาษาเขียนด้วย ในการนับมีทั้งสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์ จนกระทั่งนับถึงเลขจำนวนพัน เช่น ในกรณีนับ จำนวนคนในชุมชนแต่ละแห่ง เขาก็นับจำนวนปมเงื่อนแต่ละปมขนาดแตกต่างกันตามที่ได้ทำไว้ แทบไม่น่าเชื่อว่าชนเผ่าอินคารู้จักวิธีถลุงแร่ทองคำขึ้นมาใช้ ถึงกับมีเหมืองทองคำหายแห่ง แต่ไม่มีใคร ทราบว่าปริมาณการผลิตทองคำภายในอาณาจักรอินคามีเท่าใด แต่จากการบันทึกปู ซึ่งได้มีผู้แปลให้ทหารสเปนได้ทราบเรื่องราวที่ได้ระบุไว้ว่า ทองคำที่ลำเลียงส่งไปยังเมืองหลาวง คูซโคตกปีละเจ็ดล้านออนซ์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่า กษัตริย์ฟุ่มเฟือยมาก
ปริมาณการผลิตทองคำในอาณาจักรอินคา
ภายหลังจากกษัตริย์หรือจักรพรรดิของอาณาจักรอินคาแต่ละยุคเสด็จสวรรคตแล้ว ชาวอินคานิยมหล่อรูปปั้นทองคำให้มี ขนาดเท่าพระองค์จริงในขณะยังทรงพระชนม์อยู่ และได้ใช้ทองคำตกแต่งประดับภายในห้องต่างๆ เขตพระราชวังหรือแม้แต่ ภายในห้องเก็บพระศพอย่างหรูหรา เมื่อครั้งกษัตริย์อะตาฮวลปาทรงถูกจับเป็นเชลย พระองค์ได้เสนอมอบสมบัติที่เป็นทองคำทั้งหมด เก็บรักษาไว้ภายในห้องขนาดใหญ่ ยาว 25 ฟุต กว้าง 15 ฟุต สูง 5ฟุต เป็นค่าไถ่พระองค์ เล่ากันว่าสมบัติที่พระองค์มีมูลค่ามากกว่า 13 ล้านเปโซ รวมทั้งทองคำรูปพรรณ และเครื่องประดับทองคำอื่นๆทีกองทับถมกันภายในห้องอีกมหาศาล
นางห้าม
นางห้ามของชนเผ่าอินคาเรียกว่า "แอคลา" เป็นหญิงโสดที่สาบานตนเป็นข้ารับใช้กษัตริย์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญระดับสูง ตั้งแต่อายุ 13 หรือ 14 ปี คัดเลือจากบรรดาหญิงสาวที่สวยที่สุดของชุมชนกลุ่มน้อย แต่ละกลุ่ม ที่แยกออกไปจากชุมชนใหญ่ ใช้ชีวิตตามลำพัง ลักษณะพิเศษของนางห้ามก็คือ ห้ามสมารถหรือห้ามมีความสัมพันธ์กับชายใด โดยไม่ไดรับอนุญาตจากกษัตริย์ หรือผู้ที่มีอำนาจสูงที่ได้รับมอบหมาย ชายใดที่บังอาจล่วงล้ำเข้าไปในเขตที่พักอาศัยของนางห้ามจะได้รับโทษประหารชีวิต และตระกูลของเขาจะถูกประณามเสื่อมเสียตลอดไป นางห้ามมีลักษณะคล้ายหญิงพรหมจารีที่อุทิศตนกระทำภารกิจต่างๆสำหรับกษัตริย์หรือจักรพรรดิ เช่น ทอผ้าเป็นต้น เมื่อครั้งที่ทหารสเปนเดินทางเข้าไปยังเมืองคาซัส ได้พบศพชายสามคนแขวนบนกิ่งไม้ข้างทางเมื่อสอบถามจากชนพื้นเมือง ก็ทราบว่า ชายทั้งสามคนบุกรุกเข้าไปในย่านที่อยู่ของนางห้าม
การแต่งกายของชนเผ่าอินคา
ชนเผ่าอินคาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าต่างๆตามสถานภาพและตำแหน่งในสังคม รูปแบบการ แต่งกายเป็นแบบเรียบเหมือนกัน สำหรับข้าราชบริพารฝ่ายชายนิยมสวมเสื้อคลุมรัดเอวเหนือเข่า และสวมเสื้อ คลุมทับอีกชั้นหนึ่ง ส่วนสุภาพสตรีแต่งกายด้วยเสื้อคลุมยาวเลยเข่าลงมา มีผ้าคาดเอว
ลักษณะผังเมืองต่างๆในอาณาจักรอินคา
เมืองขนาดใหญ่แทบทุกเมืองภายในอาณาจักรอินคา มักจะมีผังเมืองคล้ายคลึงกัน นั่นคือ ทุกเมืองจะต้องมีวังที่ประทับสำหรับกษัตริย์หรือจักรพรรดิทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีที่พักของผู้ว่าการประจำเมือง มีถนนหนทางหลักตัดออกไปทางทิศเหนือ และทิศใต้จะมีจุดรับข่าวสารคีปู ใจกลางเมืองมักจะเป็นลานกว้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่เรียกว่าพลาซ่า รอบบริเวณด้านทิศต่างๆจะเป็นศูนย์ปฏิบัติงานหรือศูนย์บริหารบ้านเมือง ใกล้วังที่ประทับมักจะเป็น บริเวณที่พักของนางห้าม ซึ่งเป็นเขตลับตา นอกจากนั้นด้านตะวันตกเฉียงใต้ จะมีบริเวณที่สร้างอาคารเก็บเสบียงอาหาร ไว้บริโภคตลอดปี ด้านตะวันตกเฉียงเหนือมีเขตที่พักของบรรดาช่างฝีมือเพื่อผลิตงานตามคำสั่งของจักรพรรดิและสำหรับใช้ ในพิธีกรรมทางศาสนา จากหลักฐานต่างๆที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด สรุปได้ว่าอารยธรรมอินคาเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าอารยธรรมอื่นใน เขตอเมริกาใต้ นับเป็นเรื่องประหลาดมากทั้งที่อาณาจักรส่วนใหญ่ของชนเผ่าอินคาอยู่ในเขตที่มีอากาศร้อนจัดมาก แต่ก็มี ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อ แต่ประเด็นที่ยังเป็นปริศนาลับเกี่ยวกับชนเผ่าอินคามาจนกระทั่ง บัดนี้ก็คือ ชนเผ่าอินคาได้รับมรดกทางวัฒนธรรมมาจากชนเผ่าใด เพราะเหตุใดผลงานทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ของชนเผ่าอินคาจึงคล้ายคลึงกับอารยธรรมของชนเผ่าไอยคุปต์ทั้งๆที่อยู่ห่างไกลกันคนละทวีป
ศาสนาและพิธีกรรมประหลาดของชาวอินคา
ศาสนาของชนเผ่าอินคาเกี่ยวพันกับเทพเจ้าอย่างลึกซึ้ง เทพเจ้าที่ชาวอินคาเคารพบูชา มักจะเป็นเทพที่เป็น สัญลักษณ์อำนาจของธรรมชาติ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ หรือสุริยเทพที่เรียกว่า "อินติ" เทพีแห่งดวงจันทร์ หรือจันทราเทวี ที่เรียก ว่า "ควิลลา" ชาวอินคาถือว่าบิดาแห่งเทพและเทพีทั้งปวงคือ"เทพวิราโคชา"ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างโลก เป็นทั้งพระบิดาและพระ มารดาของสุริยเทพและจันทราเทวี เล่ากันว่าเทพวิราโคชาสร้างมนุษย์คนแรกบนโลกด้วยดินเหนียว พิธีเฉลิมฉลองของชาวอินคาใน โอกาสต่างๆมักเกี่ยวพันกับศาสนาเสมอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พิธีเฉลิมฉลองซีทัว
งานเฉลิมฉลองซีทัวถือว่าเป็นพิธีใหญ่ที่สำคัญต่อชีวิตชาวอินคาทุกคนผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงจะมีส่วนร่วมโดยนำรูปภาพหรือรูปปั้นที่ พวกเขาเคารพนับถือไปไว้ในบ้านที่อยู่ในนครคูซโคสาเหตุที่มีการเฉลิมฉลองเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูฝนทำให้ประชาชนทั่วไปเจ็บไข้ไม่สบายด้วยเหตุนี้จึง ต้องทำพิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายอำนาจปิศาจที่พวกเขาคิดว่าเป็นต้นเหตุ พิธีเฉลิมฉลองจะกระทำในวันพระจันทร์เต็มดวงโดยเริ่มพิธีในเวลาเที่ยงตรงทุกคนจะไปรวมกันที่ลานหน้าวิหารสุริยเทพและนักบวชชั้นสูงจะนำสวด บูชาสุริยเทพเพื่อให้สุริยเทพขับไล่โรคร้าย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆออกไปจากแผ่นดิน
การล่มสลายของอาณาจักรอินคา
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1532 ฟรังโก พิซาร์โรนักผจญภัยชาวสเปนพร้อมทั้งกองคาราวานได้เดินทาง จากปานามาลงมาทางภาคเหนือของเปรูเพื่อต้องการเผชิญหน้ากับอะตาฮวลปาจักรพรรดิองค์ล่าสุดของอาณาจักรอินคา ฟรังโกพร้อมทั้งกองทหารม้า 63 คนและทหารราบ 200 คน เดินทางลงมาจนถึงเมือง คาจามาร์คา ในขณะเดียวกัน อะตาฮวลปาได้เดินทางจากเมืองคีโตลงมายังเมืองคูซโค เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาเพื่อเข้าร่วมพิธีสถาปนา แต่งตั้งพระองค์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 และได้รับสั่งให้ขุนนางนำของกำนัลที่มีราคาไปมอบให้ฟรังโก แล้วเชิญเข้าเมืองด้านฟรังโกก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีในระยะแรกเขาทราบดีว่ากองทัพอินคาโอบล้อม จักรพรรดิของพวกเขาไว้อย่างแน่นหนาและฟรังโกได้มั่นใจในอาวุธที่ทันสมัยกว่าหลายเท่าเขาสามารถเอาชนะได้ไม่ยากทุกเมื่อที่ต้องการ
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่จักรพรรดิอะตาฮวลปายินยอมต้อนรับทหารสเปน เนื่องจากเชื่อตามข่าวลือที่ว่าจะมีเทพเจ้าผิวขาวหรือที่เรียกว่าเทพเจ้าวิราโคชา ตามตำนานที่ระบุไว้ว่าเดินทางมาจากโพ้นทะเลจะนำเอาวัฒนธรรมสูงส่งมาให้ซึ่งนับว่า เป็นเรื่องแปลกตำนานโบราณของชาวแอซแต็ก ชาวมายา ชาวอินคา และชนเผ่า อินเดียนแดงอื่นๆต่างเชื่อถือและรอคอยเทพเจ้าผิวขาวเช่นเดียวกัน
แผนยึดอาณาจักร
จักรพรรดิอะตาฮวลปาสนพระทัยที่จะผูกมิตรกับทหารสเปน เพื่อหวังให้เป็นกำลังช่วยต่อต้านพระเชษฐาต่างพระมารดา ซึ่งเป็นศัตรูของพระองค์ ในที่สุดฟรังโกได้ให้น้องชายคือ เฮอร์นันโด พิซาร์โร เข้าเฝ้าแทนเพื่อเจรจาตกลงที่จะพบกับฟรังโกที่จัตุรัสกลางเมือง ตามความประสงค์ของฟรังโก เมื่อถึงวันนัด ฟรังโกได้วางแผนจับตัวจักรพรรดิอะตาฮวลปา โดยสั่งให้ทหารปลอมตัวเป็นทหารอินคาแอบซ่อนอยู่ ใกล้บริเวณนั้น หากเขาเกล่าวถึงนามเซนต์เจมส์เมื่อใด ให้รีบแสดงตัวพร้อมปฏิบัติการทัน ภาพที่ฟรังโกตกตะลึงก็คือ ขบวนแห่ที่อลังการของจักพรรดิอะตาฮวลปา จักรพรรดิทรงแต่งพระองค์ด้วยผ้าแพรและเครื่องประดับที่แสดง ถึงความมั่งคั่งของอาณาจักรอินคา การเจรจาได้เริ่มขึ้นโดยฟรังโกแสร้งว่าจุดประสงค์ของการมาที่นี่ก็เพื่อเผยแพร่ศาสนาของตนแก่ชาวอินคา ฝ่ายจักรพรรดิได้ฟังดังนั้นก็ทรงโกรธและได้บอกว่าพวกตนชาวอินคา มีเทพเจ้าที่นับถืออยู่แล้ว ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ทันใดนั้นฟรังโกก็ได้สั่ง ให้ทหารที่แฝงตัวอยู่ปรากฏตัวและเข้าโจมตีฝ่ายทหารอินคา และด้วยอาวุธที่ทันสมัยกว่าทำให้ชาวสเปนได้รับชัยชนะในที่สุด ทหารฝ่ายอินคาล้มตาย เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทหารสเปนไม่สิ้นชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว ส่วนองค์จักรพรรดินั้นได้ถูกจับกุมอย่างน่าสมเพช ทรงตกเป็นเชลย แต่ฟรังโก และทหารสเปนก็ได้ปฏิบัติกับพระองค์อย่างเหมาะสม โดยยินยอมให้พระองค์เสด็จกลับวังไปบวงสรวงสุริยเทพ และได้พบมเหสี โอรสและธิดาได้
ในที่สุดอาณาจักรอินคาอันยิ่งใหญ่ก็ถึงกาลอวสานอย่างน่าเศร้า จักรพรรดิอะตาฮวลปาได้ยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนอิสราภาพแก่ฟรังโก ว่าจะ มอบทองคำและทรัพย์สมบัติมหาศาลจากทั่อาณาจักรที่เก็บไว้ภายในราชสำนักเป็นค่าไถ่ตัว แต่ฟรังโกไม่สนใจ ต่อมาฟรังโกได้หาทางกำจัดพระองค์ โดยกล่าวหาว่าจักรพรรดิอะตาฮวลปาหักหลังเรื่องค่าไถ่ และมีความผิดต้องถูกปลงพระชนม์ในฐานะคนนอกรีต ซึ่งต้องถูกเผาทั้งเป็น ข้อกล่าวหานี้ ทำให้ชาวอินคารู้สึกตกใจเพราะหากพระศพถูกเผาแล้ว ก็จะไม่มีโอกาสได้รักษามัมมีศพของพระองค์ไว้ได้เลย ต่อมาพระองค์ได้ถูกประหารโดยวิธีตัด พระเศียรแทน
ข้อมูลอ้างอิง
ขอบคุณบทความดีๆนะคะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ ^_^
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบso good
ตอบลบชาวอินคามีควมรู้เรื่องใดคะ
ตอบลบขอขอบพระคุณผู้นำเสนอข้อมูลดีๆๆสาธุ
ตอบลบ